เมาไม่ขับ


เมาไม่ขับ
สุราทําให้เกิดอุบัติเหตุจราจร สูงถึงร้อยละ 50% คนไทยเสียชีวิตจากอบุัติเหตุเฉลี่ย
ชั่วโมงละ 2 คน สูญเสียทางด้านเศรษฐกิจกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี และยังเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนหนุ่มสาวทั้งหมดเกิดจากการขับขี่รถขณะมึนเมาสุรา

ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมีผลต่อร่างกายอย่างไร
แอลกอฮอล์ในเลือด 30 เปอร์เซ็นต์      อาการครึกครื้น สนุกสนาน ร่าเริง
แอลกอฮอล์ในเลือด 50 เปอร์เซ็นต์     ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดีเท่าภาวะปกติ
แอลกอฮอล์ในเลือด 100 เปอร์เซ็นต์    เดินไม่ตรงทาง
แอลกอฮอล์ในเลือด 200 เปอร์เซ็นต์    อาการสับสน
แอลกอฮอล์ในเลือด 300 เปอร์เซ็นต์    อาการง่วง งง ซึม
แอลกอฮอล์ในเลือด 400 เปอร์เซ็นต์    สลบ หรืออาจถึงตายได้

การตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือดตรวจได้อย่างไร
1. ตรวจทางลมหายใจโดยการใช้เครื่องตรวจแอลกอฮอล์แบบพกพา
2. ตรวจในเลือดโดยตรง
3. ตรวจในปัสสาวะ

ในประเทศไทยได้กำหนดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดในคนขับรถไว้ที่ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ตามมาตรา 43(2) จําคุกไม่เกนิ 3 เดือน หรือปรับ 2,000 –10,000 บาท สําหรับผู้ขับขี่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ควรศึกษาเกณฑ์การดื่มอย่างปลอดภัยในชั่วโมงแรกก่อนขับขี่รถสามารถดื่มได้ปริมาณดังนี้
1. สุรา 6 แก้วผสมสุราแก้วละ 1 ฝา (ฝาขวดสุรา)
2. เบียร์ปกติ 2 กระป่องหรือ 2 ขวดเล็ก
3. ไวน์ 2 แก้ว (แก้วละ 80 cc) 
สําหรับชั่วโมงต่อไปดื่มได้เพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่กําหนดนี้เท่านั้น หากดื่มปริมาณมากกว่านจะมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์

ข้อมูลจาก:กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

(1) ธนชัย ขนส่ง

รถรับจ้าง ในอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น