ที่นี่ขอนแก่น

ประวัติจังหวัดขอนแก่น

" พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์ลือก้อง เหรียญทองมวยโอลิมปิค "

เมืองขอนแก่น 
เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมายาวนานหากมองย้อนอดีตโดยอาศัย บันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏว่า เมื่อปี พ.ศ.2340 มีกลุ่มคนประมาณ 330 คน นำโดยท้าวเพียงเมืองแพนอพยพมาจากบ้านชีโล้น แขวงเมืองสุวรรณภูมิ(ปัจจุบันท้อง ที่อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด) มาเลือกชัยภูมิบ้านบึงบอน(บ้านเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น) เป็นที่ตั้งชุมชนใหญ่โดยขออนุญาตและขอยกเป็นเมืองขอนแก่น จากพระยานครราชสีมา พระยานครราชสีมาได้มีใบบอกไปกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระบรมราชโองการยกฐานะ บ้านบึงบอนเป็นเมืองขอนแก่นเมื่อปี พ.ศ.2340 ตั้งท้าวศักดิ์ ซึ่งเป็นท้าวเพียง เมืองแพนเป็นเจ้าเมืองคนแรกให้นามว่า พระนครศรีบริรักษ์บรมราชภักดี ชื่อ ขอนแก่น อาจจะมาจากคำว่า ขามแก่น ซึ่งมีพระธาตุขามแก่นอยู่ในเขตอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ห่างจากที่ตั้งเมืองขอนแก่นไปทางทิศตะวันออกเฉียง ประมาณ 26 กิโลเมตร ท้าวเพียงเมืองแพน จึงได้นำชื่อ ขามแก่น นั้นมาเป็นมงคลนามตั้งชื่อเมืองว่า ขอนแก่น ดังนั้นเมืองขอนแก่นจึงถือได้ว่าเริ่มก่อตั้งเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2340 ในเวลาต่อมาเมื่อ พระนครศรีบริรักษ์ฯ (เพียงเมืองแพน)ถึงแก่กรรมเจ้าเมืองคนต่อๆมา ได้มีการอพยพ เมืองหลายครั้งจากบ้านบึงบอนอพยพไปอยู่บ้านดอนพันชาด(ปัจจุบันบ้านโนนเมือง ตำบลแพงอำเภอโกสุมพิสัยจังหวัดมหาสารคาม บ้านโนนทัน,บ้านดอนบม,บ้านทุ่ม, บ้านเมืองเก่า,บ้านพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่นและสุดท้ายมาอยู่ที่บ้านเมืองเก่า(บึงบอน) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นในปัจจุบัน 

สมัยประวัติศาสตร์ 
จากหลักฐานการสำรวจบริเวณบ้านโนนนกทา บ้านนาดี ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง ของวิลเฮล์มจิโซลไฮม์ เรื่อง เออร์ลี่บรอนซ์อินนอร์ธอิสเทริน์ไทยแลนด์ ได้ค้นพบเครื่องสำริดและเหล็ก มีเครื่องมือเครื่องใช้เป็นขวาน รวมทั้งแบบแม่พิมพ์ที่ใช้หล่อ มีกำไลแขวนสำริดคล้องอยู่ที่โครงกระดูกท่อนแขนซ้อนกันหลายวง พบกำไรทำด้วยเปลือกหอย รวมทั้งพบแหวนเหล็กไน แสดงว่ามีการปั่นด้ายทอผ้าใช้ในยุดนั้นแล้ว นอกจากนี้ยังพบขวานทองแดง อายุ 4600-4800 เป็นหัวขวานหัวเดียวที่พบในประเทศไทย ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ในชั้นดินที่ 20 การกำหนดอายุโดยคาร์บอนด์ 14 จากชั้นดินที่ 19 ปรากฏว่าอายุ 4,275 ปี จากหลักฐานข้างต้นพิสูนจ์ให้เห็นว่าอาณาเขตบริเวณจังหวัดขอนแก่นเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรม วัฒนธรรมอันสูงสุดมาแต่ดึกดำบรรพ์ มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนสมัยพุทธกาลหลายพันปี

สมัยกรุงศรีอยุธยา 
บริเวณบ้านโนนเมือง วัดป่าพระนอน ตำบลชุมแพ ได้พบเสมาหินปักอยู่เป็นระยะและล้มจมดิน มีรอยสลักกลีบบัว กลีบเดียวหรือสองกลีบ แท่งหินที่สำคัญที่ชาวบ้านเรียกว่าเสาหลักเมือง เป็นรูปทรงกลมมีรอยจารึกซึ่งเข้าใจว่าเป็นตัวอักษรมอญโบราณ ได้นำเอามาทำเป็นหลักเมืองขอนแก่น เมืองโบราณแห่งนี้กรมศิลปากรได้ขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ฝังอยู่อย่างเป็นระเบียบ มีโบราณวัตถุหลายอย่างฝังรวมอยู่ด้วย สันนิษฐานว่าเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่มาหลายยุคหลายสมัย บริเวณยอดเขาภูเวียงเป็นวงกลมซึ่งโอบล้อมพื้นที่ 3 ตำบล มีพระพุทธรูปแบบทวารวดี จากภาพถ่ายทางอากาศ พบเมืองโบราณหลายแห่งอยู่ใกล้ลำน้ำพอง ซึ่งเป็นลำน้ำสำคัญ คือเมืองโบราณที่วัดดงเมืองแอม ในเขตอำเภอน้ำพอง เมืองมีขนาด 2900X3000 เมตร ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่สุดในภาคอีสานเท่าที่ได้พบเห็นในประเทศไทยจะเป็นรองอยู่ก็เฉพาะเมืองนครชัยศรี (นครปฐมโบราณ) พระธาตุบ้านขาม อำเภอน้ำพอง มีประวัติว่า เดิมมีตอมะขามใหญ่ซึ่งตายไปนานแล้ว กลับงอกเงยขึ้นอีก คนเจ็บป่วยเมื่อได้กินใบซึ่งงอกขึ้นใหม่นี้จะหาย หากผู้ใดไปทำมิดีมิร้ายหรือดูถูก ไม่เคารพก็จะมีอันเป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วน ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันก่อพระเจดีย์ครอบตอมะขามนี้ ไว้โดยสลักบรรจุคำสอนของพระพุทธเจ้าเข้าไว้ในตอมะขาม เหตุนี้จึงเรียกว่าพระธาตุบ้านขามมาแต่โบราณ

สมัยอยุธยาและกรุงธนบุรี 
เมื่ออิทธิพลของขอมเสื่อมลงหลังพุทธศวรรษที่ 16 จนกระทั่งถึงสมัยอยุธยา บ้านเมืองทางภาค อีสานโดนกระทบจากภัยสงคราม หรือภัยอื่นๆ จนกลายเป็นเมืองร้าง ผู้คนระส่ำระสาย ในการประชุมพงศาวดารภาค 70 ของกรมศิลปากร เรื่องพงศาวดารย่อนครเวียงจันทร์ปรากฏ ข้อความตอนหนึ่งว่า "ศักราชได้ 76 ปี กาบสะง้าเจ้าบ้านท่านกวาดครัวภูเวียงลง "คำว่าศักราชได้ 76 เทียบได้กับ พ.ศ.2257 คือ 16 ปี ก่อนพระเจ้าศิริบุญสารขึ้นครองราชสมบัติ หรือปลายสมัยอยุธยาและว่าภูเวียงมีฐานะเป็น ชุมชนเมืองสำคัญแล้ว มีฐานะเป็นเมืองป้อมหรือเมืองหน้าด่าน ของเวียงจันทร์ ตั้งอยู่ในเส้นทางมาติดต่อกับนครเวียงจันทร์ กับกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงเทพฯ การเดินทัพเดินทางโดยทั่วไปของทั้งสองนครต้องผ่านโคราช ช่องสามหมอ ภูเวียง หนองบัวลำภู เพราะเป็นทางตรงและมีน้ำท่วมอุดมสมบูรณ์ ต่อมาภายหลังเพื่อหลีกเลี่ยงทางลุ่ม จึงมีทางรถไฟ ทางรถยนต์ ระยะแรกไปตามที่ดอนผ่านเมืองพล บ้านไผ่ ขอนแก่น อุดรฯลฯ

สมัยรัตนโกสินทร์ 
การตั้งเมืองชลบถ (ชื่อเดิมมิใช่ชนบท)และเมืองขอนแก่น พาศาวดารภาคอีสานฉบับของพระยาขัตติวงษา (เหลา ณ ร้อยเอ็ด) มีความสำคัญตอนหนึ่งว่า (พ.ศ.2325) ทราบข่าวว่าเมืองแสนกลัวความผิดหลบตัวหนีลงไปพึ่งพระยาโคราชๆ บอกให้เมืองแสนลงไปเมืองเจ้าเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระจันทรประเทศ ขึ้นมาตั้งบ้านกองแก้ว เป็นเมืองชลบถ มีไพร่พลสมัครไปด้วย 340 คน ในรัฐกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พ.ศ. 2340 ฝ่ายเพียเมืองแพน บ้านชีโหล่น เมืองสุวรรณภูมิเห็นว่าเมืองแสนได้เมืองชลบถก็อยากจะได้บ้าง จึงเกลี่ยกล่อมคน ได้ สามร้อยคนเศษจึงสมัครขึ้นอยู่กับพระยานครราชสีมาแล้วขอตั้งบ้านบึงบอนเป็นเมือง เจ้าพระยานครราชสีมาได้มีใบบอกมายังกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเพียเมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ดำรงตำแหน่ง เจ้าเมือง โดยยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็นเมืองขอนแก่น พ.ศ.2352 ท่านราชานนท์ ย้ายเมืองไปตั้งที่ริมหนองเหล็กพันชาติหรือคงพันชาด (หมู่บ้านแพง อ.โกสุมพิสัย ) พ.ศ.2381 ย้ายเมืองขอนแก่นกลับมาตั้งอยู่ริมบึงบอน (ตะวันตกเฉียงใต้ ของบ้านโนนทัน ต.ในเมือง อ.เมือง ปัจจุบันนี้) พ.ศ. 2410 ย้ายเมืองขอนแก่นไปตั้งบ้านดอนบมริมแม่น้ำชี พ.ศ. 2434 โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงต่างพระองค์และ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองขอนแก่นมาตั้งที่บ้านทุ่ม อ.เมืองขอนแก่น) พ.ศ.2442 โปรดให้ย้ายกลับไปตั้งที่บ้านบึงบอนดังเดิม (เมืองเก่า) พ.ศ. 2447 โปรดให้เรียกตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองขอนแก่นว่าข้าหลวงประจำบริเวณพาชี พ.ศ. 2451 ย้ายศาลากลางเมืองขอนแก่นมาตั้งที่บ้านพระลับ ต.ในเมือง อ.เมืองขอนแก่น (ศาลากลางหลังเก่า) และเปลี่ยนตำแหน่งข้าหลวงประจำบริเวณเป็นผู้ว่าราชการเมือง พ.ศ.2459 โปรดให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัด พ.ศ. 2507 ได้สร้างศาลากลางใหม่ที่สนามบินเก่า ห่างจากที่เดิม 2,000 เมตร ปัจจุบันเรียกว่า "ศูนย์ราชการ" ในสมัยนายสมชาย กลิ่นแก้ว เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ซึ่งท่านได้ดำรงตำแหน่งในระหว่าง พ.ศ.2503-2511

ความคิดเห็น

  1. จะจ้างขนของครับ ไม่เยอะ ขอน้อย แต่ขนไปอุดล ผมยุแถงกังสดาร ราคาเท่าไหร่ครับ ขนเช้านี้

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

(1) ธนชัย ขนส่ง

รถรับจ้าง ในอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น